คลอดธรรมชาติ

สุดสลด! แม่ท้องโดนสามีบังคับให้คลอดธรรมชาติ ตัดสินใจโดดตึก เสียชีวิตทั้งแม่ลูก

event
คลอดธรรมชาติ
คลอดธรรมชาติ

คลอดธรรมชาติ

ความผิดปกติเมื่อทารกมีขนาดศีรษะใหญ่!!

เพราะศีรษะของทารกนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการใช้กำหนดอายุครรภ์ คุณหมอต้องวัดความกว้างของศีรษะของทารก ซึ่งเรียกว่า Biparietal diameter เป็นมาตรฐานในการคำนวณอายุครรภ์ ความผิดปกติแต่กำเนิดในระบบประสาทส่วนกลางที่พบก็เช่น ทารกหัวบาตร (Hydrocephalus) เป็นภาวะที่มีปริมาณน้ำในช่องสมอง (Cerebrospinal fluid = CSF) เพิ่มมากผิดปกติ อะไรก็ตามที่ทำให้มีการสร้าง CSF เพิ่มขึ้น จะทำให้มีการดูดซึมกลับของ CSF ช้าลง หรือมีอะไรไปขวางทางไหลเดินของ CSF ก็จะทำให้เกิดเด็กหัวบาตรขึ้นในที่สุด

ซึ่งคุณหมอจะวัดความกว้างของช่อง Ventricle ในสมอง ซึ่งปกติมีความกว้างประมาณ 7.6 มม. ตลอดอายุครรภ์ตั้งแต่ 15-40 สัปดาห์ หากมากกว่า 15 มม. ถือว่าผิดปกติ

ซึ่งการมีช่องว่างในสมอง ที่เรียกว่า Holoprocencephaly ก็เป็นความผิดปกติที่มักพบร่วมกับการที่ทารกมีตาเดียว (Single orbit) มีปากแหว่งตรงกลาง มีช่องจมูกช่องเดียว และอาจพบก้อนเนื้อยื่นเหนือระดับตาด้วย

ในบางรายจะไม่พบกะโหลก (anencephaly) และมีลักษณะตาที่คล้ายกบ เรียกว่า Frog eye appearance ลักษณะอื่นที่พบด้วย ได้แก่ ครรภ์แฝดน้ำ เกิดจากมีการผลิตน้ำคร่ำมากขึ้นร่วมกับการที่ทารกในครรภ์กลืนน้ำคร่ำได้ไม่ ปกติ โดยภาวะที่ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะนี้สามารถตรวจหาได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์

นอกจากนี้หากคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วมีการติดเชื้อในครรภ์เกิด ขึ้น โดยเฉพาะการติดเชื้อ กลุ่ม Virus ได้แก่ toxoplasma หัดเยอรมัน cytomegalovirus เริม ซึ่งสามารถผ่านรกทำให้ทารกติดเชื้อได้ ส่งผลให้มีการติดเชื้อในสมองทารก ทำให้ศีรษะทารกเล็ก เนื้อสมองฝ่อ ช่องสมองที่มีน้ำใหญ่ขึ้น นอกจากนี้จะเห็นจุดขาวๆ ในเนื้อสมอง ซึ่งเกิดจากการสะสมของแคลเซียม และอาจตรวจพบตับ ม้ามโต ในกรณีของการติดเชื้อ cytomegalovirus ด้วย

กรณีมีการอุดตันของหลอด เลือดแดง หลอดเลือดดำ หรือการอุดตันของเส้นเลือดในสมองทารกข้างใดข้างหนึ่ง จะทำให้เกิดการฝ่อตัวของเนื้อสมองในข้างเดียวกัน โครงสร้างภายในสมองก็จะโย้ไปด้านที่ฝ่อได้

ในบางรายมีการอุดตันของ หลอดเลือดแดงของทารกทำให้เกิดการทำลายของเนื้อสมอง เมื่ออัลตราซาวนด์คุณหมอจะเห็นของเหลวเต็มกะโหลกศีรษะ โดยไม่เห็นเนื้อสมองเลย

⇒ Must read : Hydrocephalus โรคน้ำในสมองในทารก อาจทำให้เสียชีวิต

ทั้งนี้ โรคหัวบาตร หรือ ไฮโดรเซฟฟาลัส มักเกิดในเด็กเล็ก พบได้ทั้งเพศชาย และเพศหญิง โดยในภาษาไทยจะเรียกเด็กที่เป็น โรคหัวบาตร ว่า เด็กหัวแตงโม ซึ่งแพทย์ระบุว่า จากสถิติจะพบเด็กที่เป็น โรคหัวบาตร ได้ในอัตรา 1 ใน 1,000 คนต่อปี ขณะที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ในแต่ละปีจะมีเด็กเข้ารับการรักษา โรคหัวบาตร นี้ไม่ต่ำกว่า 10 ราย

การรักษา ทารกในครรภ์หัวโต (โรคหัวบาตร)

โรคหัวบาตร นั้นสามารถรักษาได้โดยการเจาะไขสันหลัง ใส่สายยางเล็กๆ เพื่อดูดน้ำที่อยู่ในสมองออกมา และต่อท่อจากสมองลงมาที่อวัยวะอื่นๆ เช่น หัวใจ ช่องท้อง หรือผนังเยื่อหุ้มปอด เพื่อระบายน้ำออกแทนจากนั้นต้องให้ยา เพื่อให้ร่างกายหยุดการผลิตน้ำในสมอง ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าเป็น โรคหัวบาตร ได้เร็ว ก็จะสามารถรักษาให้หายได้ แต่หากรับการรักษา โรคหัวบาตร ล่าช้า ผู้ป่วยจะมีอาการหัวโต เนื่องจากน้ำในโพรงสมองจะเพิ่มขึ้น จนทำให้เนื้อสมองบางลง และส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและร่างกายในที่สุด

และในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าไปอย่างมาก ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัย โรคหัวบาตร หรือไฮโดรเซฟฟาลัสได้ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ ซึ่งจะสามารถตรวจพบขนาดของศีรษะเด็กที่โตผิดปกติได้ ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

การป้องกันโรคหัวบาตรของทารกในครรภ์

สำหรับการป้องกันโรคหัวบาตรของทารกในครรภ์นั้น อาจารย์จาลีล มิลาน และคณะ จากมหาวิทยาลัยแมนเชนเทอร์ และแลนคาสเทอร์ ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาในหนูทดลองพบว่า การให้โฟเลต (folates) ซึ่งเป็นวิตามิน B ชนิดหนึ่ง มีส่วนช่วยลด โรคหัวบาตร หรือภาวะโพรงน้ำในสมองโต (hydrocephalus) ได้ ดังนั้นจึงได้แนะนำให้หญิงที่จะเตรียมตั้งครรภ์ให้กินกรดโฟลิค ซึ่งเป็นวิตามินสังเคราะห์ เพื่อป้องกันความผิดปกติของกระดูกสันหลัง (spina bifida) และสมอง

ทั้งนี้สารโฟเลต เป็นวิตามิน B ชนิดหนึ่ง ที่พบมากใน ตับ ถั่ว หน่อไม้ฝรั่ง ผักปวยเล้ง ไข่ เมล็ดทานตะวัน มะเขือเทศ ส้ม และผักผลไม้สดๆ ฯลฯ อย่างไรก็ตามการศึกษานี้เป็นการศึกษาขั้นเริ่มต้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านต่อไป

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : momybaby-mombaby.blogspot.com , health.kapook.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up