กรมสุขภาพจิต เผย! เด็กไทยติด เกมแนว “MOBA” เสี่ยงป่วยทางจิตเวชร่วมด้วย

event

ลูกติดเกม rov

 

โดยจิตแพทย์ตรวจพบว่า เด็กกลุ่มนี้จะมีโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคสมาธิสั้น โรคดื้อต่อต้าน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคกล้ามเนื้อตากระตุก โรคบกพร่องทักษะการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาพฤติกรรมโกหก ขโมยเงิน เล่นการพนัน หนีเรียน ไม่ยอมไปโรงเรียน และหนีออกจากบ้าน

♥ Must read : รวม 11 โรค กับวิธีสังเกต ลูกมีปัญหาสุขภาพจิต

ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 14 – 16 ปี แนวโน้มพบอายุน้อยลงเรื่อยๆ น้อยที่สุด คือ 5 ขวบ ซึ่งสัมพันธ์กับปัญหาการเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย นับว่าเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก โดยเรื่องติดเกมนี้ยังเป็นปัญหาอันดับ 2 ที่พ่อแม่โทร.ปรึกษาสายด่วน 1323 รองจากปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น เช่น เรื่องความรัก

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเกมแนว MOBA ของพ่อแม่

เรื่องที่น่ากังวล ขณะนี้ คือ ประชาชนไทยยังเข้าใจผิดคิดว่า เกมบนสมาร์ทโฟน เกมออนไลน์ การแข่งขันเกมต่อสู้ออนไลน์ คือ ของเล่นของเด็กทุกวัย และที่น่าวิตกยิ่งไปกว่านั้น ยังเข้าใจผิดว่าการแข่งขันเกมต่อสู้ออนไลน์ที่รู้จักกันว่า โมบ้า ซึ่งเป็นเกมที่มีลักษณะจำลองการต่อสู้เสมือนจริงของทั้ง 2 ฝ่ายที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นและเยาวชนทั่วโลก เล่นกันเป็นทีม ผู้เล่นสามารถควบคุมตัวละครฮีโร่ของตัวเอง พูดคุยสื่อสารกับผู้เล่นอื่น และหลายคนยังเข้าใจผิดว่าเกมชนิดนี้เป็นกีฬาทางสมอง หรือที่เรียกว่า อี-สปอร์ต (E-Sports)

ลูกติดเกม rov

ซึ่งแท้จริงแล้ว เกมโมบ้า นี้ มีอันตรายต่อสมองที่บริเวณสมองส่วนหน้าของเด็กและวัยรุ่น ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ สมาธิ ความจำ และการตัดสินใจด้วยเหตุผล ซึ่งมีผลต่อการควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมโดยตรง สมองส่วนนี้จะทำงานลดลง ในขณะที่สมองส่วนอยาก หรือที่เรียกว่าระบบลิมบิก จะทำงานเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยความอยากความสนุกตื่นเต้นความท้าทายจากการต่อสู้ และการได้คะแนนหรือชัยชนะในเกมบ่อยๆ ซ้ำๆ ต่อเนื่องนานๆ จะนำไปสู่วงจรสมองติดเกมในที่สุด เป็นการเสพติดทางพฤติกรรมจนเกิดความเคยชิน จึงเลิกยากมาก ซึ่งขณะนี้จิตแพทย์พบว่าเกมชนิดนี้กำลังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กติดเกมมากจนต้องเข้ารับการบำบัด : อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

อาการที่แสดงถึงพฤติกรรมของการเสพติดเกม แนว MOBA

จะเริ่มจากความอยากกระหายที่จะเล่นเกม ใช้เวลาเล่นนานขึ้น เมื่อไม่ได้เล่นเกมจะมีลักษณะ “อาการถอน” คือ มีอารมณ์หงุดหงิด วิตกกังวล กระวนกระวาย จนถึงขั้นพฤติกรรมก้าวร้าว และเสียหน้าที่ในชีวิตประจำวัน เช่น ผลการเรียนแย่ลง ขาดสมาธิในการเรียน/การทำงาน แยกตัวไม่เข้าสังคม และสัมพันธภาพในครอบครัวแย่ลง จึงไม่แนะนำให้เด็กๆ เล่นเกมชนิดนี้

⇒ Must read : Kid Safety พิชิตปัญหาลูกติดเกม

สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนขณะนี้ ก็คือ การเลี้ยงดูลูกหลานในยุคดิจิตอลให้มีความปลอดภัยในการใช้สื่อออนไลน์ทุกชนิด คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง ไม่ควรปล่อยปละละเลยลูกอย่างเด็ดขาด!! ต้องมีกฎกติกาภายในบ้านอย่างชัดเจน อาทิ วินัยและการรับผิดชอบการเรียนในชีวิตประจำวัน การแบ่งเวลาการเล่น การมีเวลาสำหรับกิจกรรมกีฬา กิจกรรมร่วมในครอบครัว ควรเอาใจใส่การใช้เวลากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อินเทอร์เน็ตของลูกอย่างใกล้ชิด ควรทำความรู้จักกับเกมก่อนตัดสินใจให้ลูกเล่น เป็นต้น สิ่งที่ไม่ควรทำเลยคือการหยิบยื่นเกมให้เด็กเล่นแทนของเล่น หรือเป็นของรางวัล

ปัญหาเรื่องช่วงอายุ ของเด็กที่ติดเกม

ด้านผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า เด็กทุกคนที่เล่นเกมจะมีโอกาสติดเกม โดยสถาบันฯ ได้ร่วมกับ รพ.รามาธิบดีและศิริราชพยาบาล ศึกษาปัญหาติดเกมในประเทศไทยใน พ.ศ. 2558 พบว่า วัยรุ่นไทยมีอัตราเสพติดเกมร้อยละ 13.3 – 16.6 จึงคาดว่ามีวัยรุ่นไทยติดเกมประมาณ 1.3 – 1.6 ล้านคน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน เด็กที่ติดเกมส่วนมากจะมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักกีฬา อี-สปอร์ต (E-Sports) ซึ่งโอกาสที่จะเป็นซูเปอร์สตาร์ในวงการนักแข่งเกมมีน้อยมากเพียง 0.00007 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบวัยรุ่นมีแนวโน้มก่อพฤติกรรมรุนแรงจากการเลียนแบบเกมที่เล่น และยังมีพฤติกรรมเสี่ยงเข้าถึงเกมพนันในหมู่วัยรุ่นอายุ 15 – 24 ปี เป็นนักพนันหน้าใหม่ร้อยละ 0.6 ด้วย

อ่านต่อ >> อาการแสดงว่าลูกกำลังติดเกมที่ต้องพาไปพบจิตแพทย์โดยด่วน! คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up