แชร์กระหน่ำ! สุดยอดคุณแม่ใจเด็ดคลอดลูกกลางป่า-ตัดสายรกเอง!!! (มีคลิป)

Alternative Textaccount_circle
event

สาเหตุของโรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิด

เกิดจากการติดเชื้อบาดทะยัก ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบมีอยู่ตามดินทราย และอุจจาระของสัตว์ ซึ่งมีชีวิตอยู่นานเป็นปี ๆ และเจริญเติบโตได้ดีในที่ ๆ ไม่มีออกซิเจน … ในสมัยก่อนคลอดลูกที่บ้าน หรือทำคลอดด้วยหมอตำแย เมื่อเด็กคลอดออกมาก็เอาสายสะดือพาดบนก้อนดิน แล้วใช้ไม้เรียวไผ่เฉือนตัดสายสะดือบนก้อนดินจนกว่าจะขาด แล้วก็ใช้ยาผงโรงสะดือเพื่อให้เลือดหยุด การตัดสายสะดือบนก้อนดินเช่นนี้ทำให้เชื้อบาดทะยักจากก้อนดินเข้าไปใน สะดือเด็กได้ง่าย และการโรยผงบนสะดือ อาจยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้น เพราะผงยาจะไปขัดขวางไม่ให้ออกซิเจนเข้าถึงเชื้อบาดทะยัก หรือบาดแผลที่เปื้อนถูกดินทราย เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล แล้วปล่อยสารพิษออกมาทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดอาการชักเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ระยะฟักตัว 5 วัน -15 สัปดาห์ (พบมากระหว่าง 6-15 วัน) ระยะฟักตัวยิ่งสั้น โรคยิ่งรุนแรงและอันตราย

129213008-56a771433df78cf77295fc1b

อาการโรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิด

ในช่วงหลังคลอด 5-10 วัน เด็กแรกเกิดที่ติดเชื้อบาดทะยักมักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

  • ในทารกมักมีอาการร้องกวน ไม่ยอมดูดนม และอ้าปากไม่ได้ กล้ามเนื้อตามแขนขา หน้าท้อง หลัง และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีอาการหดตัวเกร็งแข็งและปวด ทำให้มีอาการคอแข็ง หลังแอ่น
  • มีอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ ทำท่าเหมือนยิ้มแสยะ กลืนลำบาก กระสับกระส่าย
  • มีอาการชักกระตุกของแขนขาและกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายเป็นพัก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาสัมผัสถูก หรือถูกแสงสว่าง หรือได้ยินเสียงดัง แต่มักจะรู้สึกตัวดี (ต่างกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสมองอักเสบ ที่ผู้ป่วยไม่ค่อยรู้สึกตัว)
  • ทุกครั้งที่ชักจะรู้สึกปวดมาก ขณะที่มีอาการชักกระตุก ผู้ป่วยอาจหายใจลำบาก ตัวเขียว และอาจหยุดหายใจได้
  • อาจพบอาการแทรกซ้อน ขาดออกซิเจนขณะชัก, อาการขาดอาหารเพราะกลืนไม่ได้, ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้ เนื่องจากการแข็งตัวของกล้ามเนื้อหูรูด, ปอดอักเสบ, กระดูกหลังหักจากการชัก ในระยะท้ายของโรคอาจหยุดหายใจ และหัวใจวายถึงตายได้

การป้องกันโรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิด

โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว อาจมีโอกาสรักษาได้เพียงประมาณ 50% ดังนั้นทางที่ดีควรหาทางป้องกันไว้ตั้งแต่แรกซึ่งสามารถทำได้โดย

  1. ในการฝากครรภ์ ควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก (ท็อกซอยด์) ให้หญิงมีครรภ์ ทุกราย ฉีดครั้งละ 0.5 มล. ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันส่งต่อไปยังลูกน้อยในท้อง โดยเริ่มฉีดเข็มแรกเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก และเข็มที่ 2 ควรฉีดก่อนครบกำหนดคลอด 1 เดือน หญิงตั้งครรภ์ที่เคยฉีดป้องกันบาดทะยักครบชุดมาแล้วเกิน 3 ปี ให้ฉีดกระตุ้นอีกเพียง 1 ครั้ง แต่ถ้าเคยฉีดครบชุดมาแล้วไม่เกิน 3 ปี ก็ไม่ต้องฉีดกระตุ้น
  2. ควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์คลอดกับบุคลากรที่รู้จักรักษาความสะอาดในการทำคลอด ไม่ใช้ไม้รวก ตับจาก มีดหรือกรรไกรที่ไม่ได้ทำการฆ่าเชื้อตัดสายสะดือเด็ก นอกจากนี้ควรแนะนำให้รู้จักทำความสะอาดสะดือเด็ก ไม่บ้วนน้ำหมากน้ำลายลงบนสะดือเด็ก
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาผงโรงสะดือทารกแรกเกิด เมื่อตัดสายสะดือเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ เจ็นเชี่ยน ไวโอเล็ทซึ่งเป็นยาสีม่วงสำหรับป้ายลิ้นเด็ก เวลาที่ลิ้นเป็นฝ้าขาวทาที่สะดือ เมื่อยาแห้งแล้วจึงค่อยใส่เสื้อผ้าให้ทารก วิธีนี้สะดือจะสะอาดปราศจากเชื้อโรค ไม่เป็นบาดทะยัก
  4. สำหรับเด็กทารกแรกเกิด ควรไดรับวัคซีนดีพีที (DPT) ป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก ซึ่งรวมอยู่ในเข็มเดียวกันเพื่อป้องกัน ตั้งแต่อายุได้ 2, 4 และ 6 เดือน และฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 4 ปี แต่ถ้าไม่เคยฉีดตอนเด็ก ควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักหรือท็อกซอยด์ จำนวน 2 ครั้ง ๆ ละ 0.5 มล.ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน หลังจากนั้น 6-12 เดือน ฉีดกระตุ้นอีก 1 ครั้ง ต่อไปฉีดกระตุ้นทุก ๆ 10 ปี

บาดทะยักโรคร้าย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน


ขอบคุณข้อมูลข่าวและภาพจาก : www.khaosod.co.th

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : BirthinNature

ข้อมูลอ้างอิงจาก : student.nu.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up