รักลูกไม่เท่ากัน

อุทาหรณ์! เด็กสาวผูกคอตัวเองเสียชีวิต ชนวนเหตุน้อยใจคิดว่า… “แม่รักลูกไม่เท่ากัน”

event
รักลูกไม่เท่ากัน
รักลูกไม่เท่ากัน

รักลูกไม่เท่ากัน

คุณแม่ยังเผยอีกว่า เรื่องแฟนนั้นตนพยายามห้ามปรามไม่ให้เกินเลย หรือเกินความเหมาะสมของวัยเด็ก ส่วนเรื่องไม่ให้ลูกเล่นโทรศัพท์นั้น อยากชี้แจงว่าตนไม่ได้บังคับไม่ให้เล่นโทรศัพท์ แต่บังคับการเล่นของเฟซบุ๊กและโปรแกรมแชทต่างๆ เช่น เฟซบุ๊กที่ตนทราบเพราะน้องพลอยเคยล็อกอินผ่านโทรศัพท์ของตน จึงรู้ความเคลื่อนไหวในการโพสต์ข้อความ จึงได้ตักเตือนอยู่บ่อยครั้งเรื่องการโพสต์เรื่องที่ไม่ดี หรือสิ่งล่อแหลมที่อาจจะก่อภัยอันตรายได้

จึงคิดว่าเป็นชนวนให้ลูกสาวเกิดความไม่พอใจที่ถูกตักเตือนมากกว่าน้องคนเล็ก เพียงอยากให้มีขอบเขตที่ปลอดภัย กลัวจะถูกลวงไปที่อื่น เพราะเคยมีข่าวคราวอยู่บ่อยครั้ง น่าจะเป็นสาเหตุให้น้องคิดสั้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตามทางทีมงาน ก็ขอแสดงความเสียใจกับคุณแม่มา ณ ที่นี้ด้วย ทั้งนี้ในเรื่องของชนวนเหตุที่ผู้เป็นแม่อาจกล่าวมานั้น เชื่อว่ามีคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่มีพี่น้องย่อมต้องเคยรู้สึกน้อยใจ ว่าทำไมตัวเองไม่ใช่ลูกคนโปรดกันบ้าง

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และมีผลวิจัยล่าสุดเปิดเผยว่า พ่อแม่ที่รักลูกไม่เท่ากัน อาจส่งผลให้ลูกมีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจในวัยเด็ก จนกลายเป็นอาการซึมเศร้า และส่งผลไปถึงตอนโตเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนได้

เมื่อหนูไม่ใช่ลูกคนโปรดของพ่อแม่!!

โดยเรื่องนี้ พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์ ด้านพัฒนาการ และพฤติกรรม โรงพยาบาลเวชธานี ได้กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้พ่อแม่แสดงออกว่ารักลูกไม่เท่ากันนั้น มาจากรูปร่างหน้าตา บุคลิก และลักษณะนิสัยของลูก ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่บางคนเข้าใจ และระมัดระวังไม่แสดงออกให้ลูกเห็น แต่สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่แสดงออก ทำให้ลูกเข้าใจว่ารักลูกไม่เท่ากัน ส่งผลต่อสุขภาพใจ และการแสดงออกทางพฤติกรรมของลูก

รักลูกไม่เท่ากันเด็กที่รู้สึกว่า พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน จะมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสูง ทั้งพฤติกรรมต่อพี่น้อง และความสัมพันธ์ต่อพ่อแม่ เมื่อโตขึ้นอาจมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับคนอื่นด้วย เช่น ไม่ไว้วางใจ มองโลกในแง่ร้าย ถ้ามีพื้นฐานหรือประวัติซึมเศร้าอยู่แล้ว ก็อาจจะมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูง

นอกจากนี้ ลูกคนโปรด หรือลูกรักก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เพราะได้รับการตามใจ เอาใจในทุกเรื่อง อยากได้อะไรพ่อแม่ก็หามาให้ เด็กก็อาจจะมีแนวโน้มเอาแต่ใจตัวเองสูง เพราะเขารู้ว่าตัวเองเป็นลูกรัก

ไม่ใช่กับทุกครอบครัวที่มีกรณีแบบนี้ ครอบครัวที่มีลูกวัยเข้าโรงเรียน และลูกเล็กที่ยังเป็นทารก คุณพ่อ คุณแม่อาจละเลยพี่คนโต เพราะต้องหันมาเอาใจใส่ลูกคนเล็กที่ยังดูแลตัวเองไม่ได้ จนบางครั้งอาจลืมมองถึงลูกคนโต ว่าเขาจะมีพัฒนาการอย่างไรต่อไป ไม่ใช่ความรักที่มีพ่อแม่มีให้ไม่เท่ากัน แต่เป็นความห่วงใยที่มีให้ลูกไม่เท่ากันต่างหาก เพราะลูกคนโตอาจเอาตัวรอดได้มากกว่าลูกคนเล็กนั่นเอง

ความรัก ความลำเอียง และความเป็นกลาง

นักวิจัยอเมริกันจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบว่า 70% ของพ่อแม่มักมี “ลูกรัก” ที่รักมากกว่าลูกคนอื่นๆ นักวิชาการเชื่อว่าพ่อแม่มีความรัก 2 มาตรฐาน เช่นเดียวกับนักวิชาการอังกฤษจากมหาวิทยาลัยบริสตอล ที่พบว่าพ่อแม่จะรักลูกคนโตมากกว่าคนเล็ก ลูกคนแรกจะได้รับการเอาใจใส่มากกว่า ได้รับการเลี้ยงดูดีกว่า ได้รับของขวัญที่มีค่ากว่า ส่งผลให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีไอคิวสูง เนื่องจากได้รับการเอาใจใส่

งานวิจัยนี้ยังยืนยันว่า ตามธรรมชาตินั้น พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน ทุกคนมี 2 มาตรฐาน แต่เป็นเรื่องยากที่พ่อแม่จะกล้ายอมรับ ว่ารักลูกไม่เท่ากัน แต่การแสดงออกจะเป็นสิ่งที่ “ลูกชัง” รู้สึกถึงความลำเอียงนั้นได้ไม่ยาก และนั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหาต่างๆ ตามมาในอนาคต ทั้งต่อตัวลูก พ่อแม่ และสังคม

“ลูกรัก” ของพ่อ และแม่ อาจไม่ใช่คนเดียวกันเสมอไป บางครั้งพ่ออาจจะรักลูกคนโตมากกว่า ส่วนแม่อาจจะเอนเอียงไปทางลูกคนเล็ก บางครั้งอาจเป็นลูกสาว หรือลูกชายที่เป็น “ลูกรัก” ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างประกอบ เช่น ลูกคนไหนเหมือนพ่อแม่มากกว่ากัน ลูกคนไหนเข้าใจพ่อแม่ได้ดีกว่า ลูกคนไหนประสบความสำเร็จ เจริญรอยตาม หรือชดเชยในสิ่งที่พ่อแม่ทำไม่สำเร็จ ใครเข้มแข็งหรืออ่อนแอกว่ากัน ใครได้ดังใจ หรือทำให้พ่อแม่ปลื้มมากกว่ากัน เป็นต้น

อ่านต่อ >> “3 วิธีรับมือ เมื่อลูกคิดว่าพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up