[Blogger พ่อเอก-52] ปูนปั้นกับกิจกรรมไม่ติดจอ

เมื่อปีที่ผ่านมาผมเคยเขียนเรื่องการเลี้ยงลูกแบบไม่ให้ลูกอยู่หน้าจอ ซึ่งมีคุณพ่อคุณแม่แวะมาอ่านและทิ้งคอมเมนต์กันไว้ไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะในมุมมองว่า ‘รู้แล้วว่าไม่ดีแต่จะทำไงได้เพราะต้องทำงานอย่างอื่นไปด้วย ไม่สามารถนั่งอยู่กับลูกตลอดเวลา’ ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าเห็นใจและเข้าใจได้ สำหรับครอบครัวเรา ในตอนที่ปูนปั้นยังไม่ถึง 2 ขวบ เราแทบจะไม่เคยให้ปูนปั้นดูจอเลย คือจะบอกว่า ไม่มีเลยก็คงเป็นไปไม่ได้ และสิ่งที่เปิดให้ดู ก็เพราะมีเหตุผลที่อยากให้ดูจริงๆ และเราจะดูไปพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นจอจาก โทรศัพท์มือถือ ไอแพด คอมพิวเตอร์ หรือทีวีก็ตาม (ซึ่งแปลว่า ปะป๊า หม่าม๊า จะได้ดูทีวีก็ต่อเมื่อปูนปั้นไปนอนแล้ว) ที่เราเอามาเล่าก็เพื่อยืนยันว่า มันไม่ใช่เรื่องยากครับถ้าตั้งใจจะทำให้ได้ เพราะเด็กอายุไม่ถึง 2 ขวบ ของเล่นทุกอย่างเขาสนุกได้หมด แถมเขามีช่วงนอนพักผ่อนกลางวันยาวๆ อีก ดังนั้นการหากิจกรรมมาเล่นกับเขาโดยไม่ต้องพึ่งจอ จึงไม่ยากเกินไป อ้อ ครอบครัวเราอยู่กันแค่สามคนพ่อแม่ลูก ไม่มีพี่เลี้ยง และเป็นมนุษย์เงินเดือนทั้งคู่ครับ   แต่วันนี้จะมาสารภาพเลยครับว่าพอปูนปั้นอายุสัก 2 ขวบครึ่ง เขาเริ่มต้องการเรียนรู้อะไรเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ ของเล่นแบบเด็กทารกก็ไม่สามารถดึงเขาให้อยู่ได้นานเหมือนเมื่อก่อน แถมกลางวันก็ไม่ค่อยจะยอมนอนเอาเสียด้วยสิ ปูนปั้นจะหาอะไรมาเล่นกับปะป๊าหม่าม๊าตลอด ซึ่งบางครั้งเราก็เหนื่อยและเริ่มหลังพิงฝาไม่รู้จะเล่นอะไรแล้ว ก็เลยมีการพึ่งพาจอเพิ่มขึ้น (คุ้นๆเคยอ่านเจอมาว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรดูจอเลย พอเลย […]

[Mom diary แม่โอ] โลกกว้าง ใน กลางแจ้ง

ปิดเทอมแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะปล่อยให้ลูกรักนั่งติดแหงกก้มหน้าคารวะจอเกมได้ไงคะ ต้องพาไปขยับแข้งขยับขานอกบ้านให้คุ้มค่าความเป็นเด็กซะหน่อย!

[Mom diary แม่โอ] แม้ผิดหวัง ก็ยังเรียนรู้

หากมีพรวิเศษ เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนคงอยากขอให้ลูก “มีความสุขสมหวังในชีวิต” กันทั้งนั้น

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 05] Breast is Best นมแม่ดีที่หนึ่งเลย!

คราวที่แล้วผู้เขียนได้เล่าถึงองค์กรอิสระและเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับนมแม่ไปแล้ว คราวนี้เลยจะขอเล่าถึงข้อดีและประสบการณ์ปีกว่าๆ ของการให้นมแม่ล้วนๆ ไม่ให้น้ำหรืออาหารเสริมอื่นใดในช่วง 6 เดือนแรก ที่ผู้เขียนประสบมาด้วยตนเองให้ฟังก็แล้วกันนะคะ

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 03] Babies Remember Birth แม่จ๋าหนูจำได้

คุณคิดว่าเด็กที่เกิดมาจะเริ่มจำความได้ตอนอายุเท่าไหร่

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 14] REI Philosophy รักวัวอย่าผูก รักลูกให้คอยก่อน

วันหนึ่งระหว่างผู้เขียนนั่งเล่นอยู่ที่สนามหลังบ้านกับลูกสาววัยไม่กี่เดือน เด็กชายอีไลจา ลูกชายของแจ๊คกี้ เพื่อนบ้านคนสวยของผู้เขียนก็แวะมาเกาะกำแพงคุยด้วย

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 13] Cloth Diaper ผ้าอ้อมรักลูกและรักษ์โลก

ก่อนลูกน้อยจะลืมตาออกมาดูโลก คุณพ่อคุณแม่มีเรื่องต้องวางแผนเตรียมการมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องห้องนอน ขวดนม เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ ฯลฯ และสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้เรื่องการกินการนอนของลูกก็คือเรื่องการขับถ่าย เพราะเด็กเล็กๆ นั้น กินเมื่อไหร่ก็เป็นได้ฉี่หรืออึเมื่อนั้น

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 12] Outdoor Parenting เลี้ยงลูกนอกบ้าน

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เห็นเพจ “เลี้ยงลูกนอกบ้าน” ของคุณหมอโอ๋ เภสัชกรขิม และน้องพลอย มัลลิกะมาส แล้วก็รู้สึกดีใจที่มีคนชักชวนกันพาลูกน้อยออกไปเผชิญโลกกว้าง เพราะผู้เขียนและสามีนั้นให้ความสำคัญกับการพาลูก “ออกไปข้างนอก” กับเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 11] Baby Sign Language ลดเสียงร้องไห้ได้ด้วยภาษามือ

ยังพอจะจำความรู้สึกเวลาไปต่างประเทศ แล้วพูดกับใครไม่รู้เรื่องได้ไหมคะ มันช่างอึดอัดคับข้องใจเสียจริง อยากจะกินอะไร อยากจะไปไหน หรือแม้แต่อยากจะไปเข้าห้องน้ำก็ถามทางไม่ถูก ในเวลาอย่างนั้น แทบทุกคนคงงัดเอาไม้ตายขึ้นมาแก้สถานการณ์… นั่นก็คือใช้ภาษามือ!

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 10] Music Together สอนลูกพูดจาภาษาเพลง

Hello everybody, so glad to see you…

เสียงกีตาร์ดังขึ้น พร้อมกับเสียงร้องสดใสของคุณครู เป็นเพลงแสนจะคุ้นหูเราสองแม่ลูก และอีกหลายหมื่นครอบครัวทั่วโลก ลูกสาววัยขวบครึ่งของผู้เขียนโยกตัวไปมาพลางหันหน้ามายิ้มแฉ่งใส่แม่

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 09] Diastasis Recti รอยแยกกลางท้องหลังคลอด

คลอดแล้ว ผอมแล้ว แต่ทำไมพุงยังไม่ยุบเสียที! ซิทอัพวันละเป็นร้อยครั้งก็ดูจะไม่ช่วยอะไร ที่หนักไปกว่านั้น… วันก่อนคุณป้าแถวบ้านทักว่า “กำลังจะมีน้องอีกคนเหรอจ๊ะ” กรี๊ดดดด… ไม่จริง ป้าตาฝาด เอ๊ะ… หรือว่าพุงเรายื่นขนาดนั้นจริงๆ

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 08] Craniosacral Therapy จัดกระดูกให้ลูกน้อยแฮปปี้

“ลูกเราหันหน้าไปข้างเดียวนะ” คุณสามีตั้งข้อสังเกตตั้งแต่ตอนหนูเมตตาอายุได้แค่สองสามเดือน ผู้เขียนนั่งดูลูกอย่างจริงจังอยู่หลายวัน แล้วก็เริ่มเห็นจริงตามนั้น ถามจนได้ทราบว่าเด็กบางรายเข้ารับการบำบัดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Craniosacral Therapy (เครนิโอเซครัลเธอราพี) ที่อาจจะช่วยให้ลูกสบายขึ้นได้

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 04] สมาคมนมแม่

เรื่องที่เราจะพูดถึงกันในครั้งนี้ก็คงจะไม่พ้นเรื่องน้ำนมอันมีค่า ทั้งต่อร่างกายและจิตใจของคุณแม่และลูกน้อย

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 07] Baby-led Weaning หนูกินเองได้จ้ะ… แม่ไม่ต้องป้อน (ตอนที่ 2)

คราวที่แล้วเล่าให้ฟังถึงแนวคิดและข้อดีหลากหลายประการของการหย่านม และหัดให้ลูกเริ่มกินอาหารแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือที่เรียกว่า Baby-led Weaning ไปแล้ว คราวนี้จะมาเล่าให้ฟังถึงขั้นตอนและข้อควรระวังถ้าหากสนใจจะเริ่มต้นวิธีการนี้กันนะคะ

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 06] Baby-led Weaning หนูกินเองได้จ้ะ… แม่ไม่ต้องป้อน

หลังจากให้นมลูกมาหลายเดือน คุณแม่หลายคน (และหลายคนรอบๆ ตัวคุณแม่) คงเริ่มสงสัยว่าเมื่อไหร่จะถึงเวลาให้อาหารอื่นๆ แก่ลูกน้อย และจะให้ลูกเริ่มกินอะไรก่อนดี รวมทั้งกรณีคลาสสิกที่ต้องตอบคำถามว่าเมื่อไหร่ถึงจะ “หย่านม” ลูกเสียที

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 02] Skin-to-Skin Contact สัมผัสแรกคือโลกของลูก

เมื่อครั้งที่ผู้เขียนไปเข้าคลาสเตรียมความพร้อมก่อนคลอดที่โรงพยาบาลร่วมกับว่าที่คุณพ่อคุณแม่คนอื่นๆ มีคำถามที่ผู้เขียนเห็นว่าแปลกและน่าสนใจดี คือ โรงพยาบาลมีนโยบายอย่างไรเกี่ยวกับการให้ทารกแรกเกิดได้สัมผัสกับผิวของแม่ทันทีหลังคลอด

[แม่อุ้ม-น้องเมตตา 01] คลอดทางเลือก

สำหรับคุณผู้หญิงที่กำลังจะเป็นคุณแม่ ถ้าบอกกับใครว่า ‘มีข่าวดี’ หรือพูดง่ายๆ ว่าท้อง คำถามแรกๆ ที่มักจะได้ยินก็คือ ‘ฝากท้องที่ไหน’ ซึ่งอนุมานได้ว่าหมายถึงโรงพยาบาลและคุณหมอท่านใด แต่ถ้าบอกใครๆ ที่พอร์ตแลนด์ด้วยข่าวดีเดียวกัน เราจะได้รับคำถามกลับมาว่า ‘จะคลอดยังไง’ ซึ่งฟังดูแปลกแต่น่าสนใจดีทีเดียว

[Blogger พ่อเอก-49] ลองพาลูกไปวัดศักยภาพจากลายนิ้วมือ


ผมไม่ได้กำลังจะบอกว่าการสแกนนิ้วสามารถบอกอะไรได้ถูกต้อง 100% เพราะมนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบมาด้วยโปรแกรม  เพราะเราเคยได้ยินเรื่องราวของอัจฉริยะหรือคนรอบตัวที่มีพรสวรรค์หรือความ ถนัดบางอย่างที่ถูกสิ่งแวดล้อมทำให้ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพตรงนี้ไปให้ไกลได้

keyboard_arrow_up