ลงทะเบียนว่างงาน

เปิด ลงทะเบียนว่างงาน รับเงินชดเชย โดนเลิกจ้าง หยุดทำงานเพราะพิษโควิด-19

account_circle
event
ลงทะเบียนว่างงาน
ลงทะเบียนว่างงาน

สำหรับผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมด้วยตัวเอง เช่น ผู้ทำอาชีพอิสระ ได้รับสิทธิให้ส่งเงินเข้ากองทุนลดลงจากเดิม 221 บาท เป็น 86 บาทต่อเดือน  ทั้งนี้ลูกจ้างตามสิทธิประกันสังคมทุกคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและติดเชื้อโควิด-19 จะยังได้รับสิทธิการรักษาเท่าเทียมกับการรักษาทั้ง 3 กองทุน

ลงทะเบียนว่างงาน เพราะพิษโควิด-19 ทำอย่างไร

พนักงาน ลูกจ้างที่ตกงานหรือถูกให้หยุดพักงาน จากกรณีที่ภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนี้

  1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th 

  2. ลือกหัวข้อ “ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน”  แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน

  3. ให้นายจ้างรับรองวันที่ที่ลูกจ้างไม่สามารถไปทำงานได้

  4. รอการติดต่อกลับจากสำนักงานประกันสังคม

ลงทะเบียนว่างงาน

หมายเหตุ: กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ (โรคโควิด-19) และนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงาน ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตามกฎกระทรวง นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างในอัตรา 75 %  ของค่าจ้าง

หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ผ่านช่องทาง e-mail ([email protected]), Web board. Live chat และทาง Facebook ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน) หรือโทร 1506 (ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง)

ลงทะเบียนว่างงาน

เกณฑ์ผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิ ลงทะเบียนว่างงาน

  1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือ กรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
  2. มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  3. ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออก หรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน
  4. ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัด ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
  5. เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
  6. ผู้ที่ว่างงาน ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  7. ผู้ที่ว่างงาน ต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี ดังนี้
  • ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  • ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

วิธีเคลมประกันโควิด-19 เรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่ควรรู้

เมื่อแม่จิตตก! 9 วิธีคลายเครียด ดูแลสุขภาพใจไม่ให้ Panic ช่วงโควิด-19

แม่ขอแชร์ 8 ไอเดีย วิธีประหยัดเงิน ในกระเป๋า ช่วย save cost สู้วิกฤติในยามนี้


แหล่งข้อมูล

www.prachachat.net  www.sso.go.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up