เช็คมือถือแฟน

กฎหมายเอาจริง! เช็คมือถือแฟน – สามี เสี่ยงโดนปรับ-ติดคุก

Alternative Textaccount_circle
event
เช็คมือถือแฟน
เช็คมือถือแฟน

เช็คมือถือแฟน โดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ผิดกฎหมายนะ รู้ยัง! โดยผิดพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตราที่ 3 และ 7 เสี่ยงโดนปรับ-ติดคุก

เตือนคุณผู้หญิง! เช็คมือถือแฟน เสี่ยงโดนปรับ-ติดคุก

การแอบดูโทรศัพท์ของสามี เช็คมือถือแฟน หรือดูมือถือของผู้อื่น กฎหมายไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นความผิด แต่มันจะเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พรบ. คอมพิวเตอร์ เพราะเจ้าโทรศัพท์สมัยนี้ดันเป็นสมาร์ทโฟนซะเกือบหมดแล้ว ดังนั้น พรบ. คอม มันจึงเข้ามาคุ้มครองการแอบเข้าไปดูข้อมูลโทรศัพท์เหล่านี้ด้วย!!

พฤติกรรมการเข้ารหัสโทรศัพท์ของแฟนหรือของคนอื่น อาจเข้าข่ายเป็นการเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นก็ไม่ได้มีไว้สำหรับตน ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยหากมีการเอาโทรศัพท์แฟนมาดูโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเค้าตั้งรหัสไว้แล้วเราแอบปลดรหัสเข้าไปส่อง ก็อาจเข้าข่ายมีความผิดได้ ซึ่งต้องดูเป็นกรณีไป

ในยุคที่โซเชียลกำลังมาแรง ดูแล้วอะไร ๆ ก็สะดวกสบายไปซะหมด จนเราลืมไปแล้วว่า มันมีกฎหมายมาควบคุมตรงนี้ด้วย ถ้าเป็นเพื่อนกัน เป็นคู่รักกัน และยังรักกัน อะไร ๆ ก็ดีไปหมด แต่เมื่อไรที่ความรักมันหมดลง กฎหมายมันจะถูกเอามาใช้บังคับทันที การดูโทรศัพท์คนอื่นจึงต้องระวังกันให้มาก

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ใช้ในกรณีที่เป็นสมาร์ทโฟนเท่านั้น โทรศัพท์รุ่นเก่า ๆ ที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟนก็ไม่เป็นความผิดตาม พรบ. คอม เพราะโทรศัพท์รุ่นเก่าๆ มันไม่ใช่คอมนั่นเอง

เช็คมือถือแฟน
กฎหมายเอาจริง! เช็คมือถือแฟน เสี่ยงทั้งจำและปรับ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

  • มาตรา 3 “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
  • มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : ทนายรัชพล ศิริสาคร เพจสายตรงกฎหมาย
แอบดูมือถือแฟน
แอบดูมือถือแฟน

จากที่ทนายรัชพล ศิริสาคร ได้อธิบายไว้ว่า มือถือสมาร์ทโฟนต่าง ๆ ในทางกฎหมาย ได้ตีความไว้ว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะมีองค์ประกอบเหมือนคอมพิวเตอร์คือ มี CPU (หน่วยประมวลผล) หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง ระบบปฏิบัติการ และสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายเช่น Wi-Fi, Bluetooth ฯลฯ ได้ซึ่งเข้าข่ายนิยามของคำว่า คอมพิวเตอร์ ซึ่ง พรบ.คอมพิวเตอร์นั้นครอบคลุมอยู่

ดังนั้นการที่แฟนได้ตั้งรหัสผ่าน หรือล็อคเครื่องด้วยวิธีอื่น ๆ หากมีการพยายามปลดล็อคไม่ว่าจะวิธีใดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่อง (แฟน) ถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ “เข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ” นอกจากนี้ ทนายรัชพล ศิริสาคร ยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ในทางปฏิบัติคงไม่น่ามีใครดำเนินคดี แต่ถ้ามีการฟ้องร้องกันจริงคงต้องทะเลาะกันแรงจริง ๆ” (อ่านต่อ ความสัมพันธ์ครอบครัว)

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อีก 1 มุมมองกรณี เช็คมือถือแฟน ควรดูที่เจตนาเป็นหลัก

นอกจากนี้ ทีมงานได้นำอีก 1 บทความที่ได้กล่าวถึงกรณี เช็คมือถือแฟนนี้ โดยเพจ มุมกฎหมายดีๆ ได้กล่าวไว้ว่า เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.คอมพิวเตอร์มาตราที่ 3 และ 7 คือ ในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

แต่สำหรับการ เช็คมือถือแฟน ตรงนี้ให้ดูที่ “เจตนา” เป็นหลัก การแอบดูมือถือแฟน ก็เพราะรัก โดยชอบในการเข้าถึงข้อมูลซึ่งกันและกัน ภาษากฎหมาย “ขาดเจตนา” ที่จะเข้าถึงโดย “มิชอบ” หากแต่ดูเพื่อ “ตั้งคำถาม” ระหว่างกันฉันคู่รัก มิได้มีเจตนาเอาไปกระทำการใดโดยมิชอบซึ่งข้อมูลดังคำนิยามข้างต้น เว้นเสียแต่ การเข้าถึงดังกล่าวนั้น เกิดความเสียหาย ก็ต้องว่าเป็นกรณี ๆ ไป นั่นก็เท่ากับว่า “คู่ครอง” ต้องเปลี่ยนเป็น “คู่คดี”

ความสัมพันธ์ครอบครัว
ความสัมพันธ์ครอบครัว

จากการตีความของทนายทั้ง 2 ท่าน ทีมงานขอสรุปว่าการ เช็คมือถือแฟน ในทางกฎหมายถือว่ามีความผิดจริง แต่ในทางปฏิบัตินั้น ไม่ค่อยเกิดการฟ้องร้องกันหรอกค่ะ เว้นแต่การแอบดูได้สร้างความเสียหายให้กับแฟนตนเอง เช่นการแอบนำข้อมูลในมือถือมาเผยแพร่ ประจาน เป็นต้น แต่ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ถือว่าเป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิตคู่ ทุก ๆ คน แม้แต่ตัวเราเอง ยังต้องการพื้นที่ส่วนตัว การเว้นพื้นที่ส่วนตัวให้กันและกัน และการเชื่อใจกัน จะช่วยให้ชีวิตรักยืนยาวขึ้น ดังนั้น แม้จะอยากรู้เพียงใด แนะนำให้อดใจไว้เพื่อรักษาน้ำใจกันไว้ดีกว่านะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : ทนายรัชพล ศิริสาคร เพจสายตรงกฎหมาย, มุมกฎหมายดีๆ

10 ข้อเช็คเลยเรื่องอะไรที่ สามีภรรยาทะเลาะกัน มากที่สุด

วิธีมัดใจสามี ให้อยู่หมัด ด้วย 5 เคล็ดลับเด็ด

แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อได้ไหม? อนาคตจะมีปัญหาหรือไม่?

เปลี่ยนนามสกุลลูก กลับมาใช้นามสกุลของแม่ทำอย่างไร?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up