ลูกโดนเพื่อนแกล้ง

จิตแพทย์เด็กเผย! วิธีรับมือเมื่อ ลูกโดนเพื่อนแกล้ง (Bullying)

event
ลูกโดนเพื่อนแกล้ง
ลูกโดนเพื่อนแกล้ง

สำหรับวิธีรับมือเมื่อ ลูกโดนเพื่อนแกล้ง หรือ ลูกถูก Bullying นี้ เป็นบทความที่ทางเว็บไซต์พันทิป ได้ไปสัมภาษณ์กับ พญ.เบญจพร ตันตสูติ (หมอมิน) จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ เข็นเด็กขึ้นภูเขา ซึ่งเชื่อว่าหากคุรพ่อคุณแม่อ่านจนจบจะได้รู้ถึงคำตอบว่า ถ้าอยู่ดีๆ ลูกของเราก็กลายเป็นเหยื่อของ “การกลั่นแกล้ง” หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่สดใสในโรงเรียน จะต้องรับมือ หรือแก้ปัญหาอย่าไรดี ตามมาอ่านกันค่ะ

ทำความรู้จักกับ Bully + Cyberbullying

อันดับแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักกับคำว่า Bullying กันก่อน ซึ่งคำอธิบายของปัญหานี้ อ้างอิงมาจากหนังสือ “ผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น” เขียนโดย รศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ ซึ่งคุณหมอมินได้ร่วมเขียนในบทที่ว่าด้วยเรื่อง Cyberbullying ด้วย พร้อมนำมาอธิบายเป็นข้อมูลให้เข้าใจกันว่า…

จากอดีตที่ผ่านมา เด็กและวัยรุ่นประสบกับปัญหาการถูกกลั่นแกล้งที่จำกัดเฉพาะในบางสถานที่ เช่น โรงเรียน ซึ่งการกลั่นแกล้งทั่วๆ ไป (Traditional bullying) นั้น มีลักษณะ 4 ประการ ได้แก่ มีความรุนแรงก้าวร้าว ,มีความตั้งใจ ,มีการกระทำซ้ำๆ ,และมีความไม่เท่าเทียมของพลังอำนาจ

การสื่อสารรูปแบบใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดรูปแบบการกลั่นแกล้งนอกเหนือจากการแกล้งทั่วๆ ไป เรียกว่า ‘Cyberbullying’ หรือ ‘การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์’

ลูกโดนเพื่อนแกล้ง
สถานการณ์ ลูกโดนเพื่อนแกล้ง หรือ การรังแกกันในโรงเรียน ปี 2560 พบว่า มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น และไม่ใช่ปัญหาเล็กน้อยอย่างที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เข้าใจ โดยมีเด็กถูกรังแกในสถานศึกษาปีละประมาณ 600,000 คน และมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก

ชนิดของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์

  1. Harassment ผู้กระทำการกลั่นแกล้งส่งข้อความที่ข่มขู่คุกคาม หรือหยาบคาย ซึ่งอาจจะนำมาสู่การข่มขู่คุกคามทางร่างกายในชีวิตจริงก็ได้
  2. Flaming ผู้กระทำการกลั่นแกล้งจะใช้สื่ออินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย เช่น สื่อสังคมออนไลน์ ชุมชนออนไลน์
  3. Exclusion เป็นการกลั่นแกล้งโดยการตั้งใจเพิกเฉยไม่สนใจกับเหยื่อ ทำให้เหยื่อรู้สึกว่าถูกตัดออกจากกลุ่ม เช่น การรวมตัวกันไม่คุยกับเหยื่อในไลน์กลุ่ม และอาจจะมีข้อความหรือรูปภาพที่ส่งกันในกลุ่มนั้นเพื่อข่มขู่คุกคาม ทำให้เหยื่อรู้สึกไม่ดี
  4. Outing เป็นการกลั่นแกล้งที่ผู้กระทำส่งต่อข้อมูลส่วนตัวที่เป็นข้อความลับของเหยื่อ เช่น ข้อความ รูปภาพ คลิปวิดีโอ ออกไปสู่สาธารณะและเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
  5. Masquerading เป็นสถานการณ์ที่ผู้กระทำการกลั่นแกล้งปลอมแปลงตัวตนในการเป็นเหยื่อในโลกไซเบอร์ เช่น สร้างเฟซบุ๊กโดยใส่ชื่อและรูปภาพให้คนอื่นเข้าใจว่าเป็นเหยื่อ นอกจากนั้นอาจเป็นการปลอมแปลงตัวตนเป็นอีกบุคคลหนึ่งเพื่อการกลั่นแกล้งเหยื่อก็ได้

 

อ่านต่อ >> วิธีรับมือเมื่อ ลูกถูก Bullying จากหมอมิน
เจ้าของเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา” คลิกหน้า
3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up