ผู้หญิง หรือ ผู้ชาย : อยากท้องเลือกเพศได้จริงๆ หรือ? (ตอนที่ 2 วิธีทางการแพทย์)

Alternative Textaccount_circle
event

เมื่อตอนที่แล้ว (คลิกอ่าน – ตอนที่ 1 แนวคิดการเลือกเพศด้วยวิธีธรรมชาติ) เราทราบถึงแนวความคิดของคนสมัยก่อนที่พยายามเลือกเพศลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ในบทความนี้เรามาดูกันค่ะว่า  เมื่อการแพทย์พัฒนามากขึ้น จะช่วยเหลือคู่สามีภรรยาด้านการเจริญพันธุ์ได้อย่างไร

มี 3 เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้คู่สามีภรรยาสามารถเลือกเพศลูกได้โดยอาศัยหลักการทางธรรมชาติ

  1. การปั่นคัดแยกสเปิร์ม (Sperm spinning)
  2. การวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมตรวจสอบก่อนตั้งครรภ์ (PGD : Preimplantation Genetic Diagnosis)
  3. การคัดเชื้อภายในกล้องจุลทรรศน์ (MicroSort)

1. Sperm Spinning

สเปิร์มที่บรรจุโครโมโซม Y ซึ่งเป็นโครโมโซมบ่งบอกความเป็นเพศชาย จะว่ายได้เร็วกว่าสเปิร์มที่บรรจุสารพันธุกรรมของเพศหญิง (X) ในสารแอลบูมิน  ดังนั้นเราจึงใช้เทคนิคทางห้องปฏิบัติการในการปั่นแยกชั้นของสเปิร์มเพื่อแยกเอาตัวสเปิร์มเพศที่ต้องการได้ ราคาอยู่ที่ 20,000 – 30,000 บาท

2. PGD : Preimplantation Genetic Diagnosis

นอกจากการคัดเลือกเพศแล้ว คู่สามีภรรยาบางคู่ยังจำเป็นต้องใช้การตรวจ PGD เพื่อตรวจหาโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง เพื่อทราบความเสี่ยงก่อนการตั้งครรภ์  ตัวอย่างเช่น คนไทยบางคนเมื่อสมรสกันแล้วโอกาสจะเกิดลูกที่มีโรคทาลัสซีเมียแบบรุนแรงสูง  ดังนั้นหากทราบพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนตั้งครรภ์จะช่วยลดค่าเสียโอกาสในการเลี้ยงดู  หรือโรคบางโรคถ้าฝ่ายหญิงตั้งครรภ์แล้วจะเกิดครรภ์เป็นพิษจากสายรก  คู่สามีภรรยาจะได้ทราบความน่าจะเป็นของความเสี่ยงในแต่ละโรคก่อนการตั้งครรภ์  ผลพลอยได้ของการตรวจ PGD คือ สามารถตรวจเลือกเพศได้

3. MicroSort

คือการคัดเลือกเพศภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เมื่ออสุจิกับไข่ผสมกันแล้วส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เราจะสามารถเห็นลักษณะที่แตกต่างกันบางอย่าง หรือสามารถดูดเอาเซลล์ภายในตัวอ่อนไปตรวจทราบเพศได้  หรือหากเรารู้เพศของสเปิร์มที่จะฉีดเข้าไปในไข่ เราก็สามารถทำภายใต้กล้องจุลทรรศน์ได้ ตัวอย่างของเทคนิคนี้ ได้แก่ การทำเด็กหลอดแก้ว IVF

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

ภาพ : Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up