ชวนเด็กๆให้มาเป็นนักสะสมกัน

การสะสมสิ่งของช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้มากมาย เช่น การรู้จักสะสมของตั้งแต่เด็กจะช่วยให้ลูกรู้ว่าเขาสนใจอะไรเมื่อโตขึ้น และทำให้เขารู้จักจัดการเก็บของให้เป็นระเบียบด้วย

ผักบ้านเราอร่อยที่สุดเลย!

ผลวิจัยชิ้นล่าสุดของมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ระบุว่า

เตรียมตัวอย่างไร ก่อนพาลูกไปงานศพ

งานศพอาจเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะกับเด็กๆ (ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยไหน) นัก แต่ถ้าหากลูกๆ ของคุณเกิดจำเป็นต้องเข้าไปร่วมพิธีที่เต็มไปด้วยความเศร้าและน้ำตาเข้าจริงๆ

ตอบปัญหา “เจ้าช่างซัก”

สำหรับแม่ที่มีลูกวัยเรียนอนุบาล บางทีการพูดคุยก็กลายเป็นรายการ 20 คำถามได้ง่ายๆ แค่คิดก็เหนื่อยแล้วใช่ไหมล่ะคะ

“ลูกอ้วก” แบบไหน ควรพาไปโรงพยาบาล

เรื่องที่แม่ต้องรู้ ลูกอ้วก แบบนี้เมื่อไร อย่ารอช้า!! รีบนำตัวลูกส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

หนูกลัวเงาตอนกลางคืน

ลูกกลัวเงาตอนกลางคืนมากเลยค่ะ ต้องเปิดไฟทิ้งไว้ 2 – 3 ดวงตลอดทั้งคืน แม้พ่อกับแม่จะอธิบายว่าเงานั้นไม่ใช่ผี

บ้านเราพูดสองภาษา ดียังไงนะ?

สำหรับครอบครัวที่คุณพ่อรู้สึกสบายใจกับการพูดอังกฤษมากกว่า กับคุณแม่ที่พูดภาษาไทยเพราะเป็นภาษาของครอบครัว เป็นวัฒนธรรมที่แม่อยากส่งต่อให้ลูก อาจจะมีคำถามว่า “เราควรให้ลูกพูดภาษาเดียวดีกว่าไหม”

แอบ “จิ๊ก” ของเพื่อนกลับมาบ้าน

ถ้าเปิดกระเป๋านักเรียนหรือเป้ที่ลูกถือไปโรงเรียนทุกวัน แล้วพบดินสอ ยางลบ หรืออย่างอื่นที่จำได้ว่าไม่เคยซื้อหามาให้ลูกอยู่ในนั้น คุณจะทำอย่างไรดี?

ให้ลูกอยู่กับเจ้าตูบอย่างปลอดภัย

เมื่อคุณตัดสินใจเลี้ยงสุนัข สิ่งที่ควรรู้ก็คือ

รับมือ! เมื่อลูกวัยอนุบาลวีนแล้วทำร้ายตัวเอง

เมื่อลูกโกรธหรือไม่พอใจอะไรสักอย่างแล้วทำร้ายตัวเอง เป็นเพราะอะไร และจะรับมืออย่างไรดีล่ะ มาดูกัน!

เทคนิคฝึกลูกกระโดดเชือก

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจคิดว่า กระโดดเชือกเรื่องง่ายๆใครก็ทำได้Ž แต่พอลองหัดเจ้าตัวเล็กเข้าจริงๆ ถึงรู้ว่า กระโดดเองกับสอนลูกกระโดดนี่คนละเรื่องกันเลยนะ

จัดการของรักของลูกเล็กอย่างไร ไม่ให้ลูกเสียใจ

เด็กวัยนี้มักทำใจไม่ค่อยได้ถ้ารู้ว่าแม่อยากเอา “สมบัติ” ของตัวเองทิ้งไปบ้าง ทั้งที่อาจเป็นแค่ของบุบบี้หรือเก่าคร่ำคร่า เพราะของที่เขาเห็นอยู่ทุกวันถือเป็นเพื่อนที่คุ้นเคย

คุณครูใจร้าย…ทำอย่างไรดี

ในการประชุมผู้ปกครองเมื่อคราวก่อน คุณแม่แก้วรู้สึกว่าคุณครูกระหน่ำวิจารณ์ลูกสาวของเธอในแง่ลบจนดูเหมือนไม่ยุติธรรมเอาซะเลย แบบนี้จะโต้ตอบอย่างไรดี

ฮัลโหลๆ หนูรับโทรศัพท์เป็นแล้วนะ


ช่วงนี้เจ้าตัวเล็กที่บ้านเป็นอะไรก็ไม่รู้ เห็นปุ่มเป็นไม่ได้ ขอเอานิ้วกดหน่อยเถอะ

ตอบคำถามเรื่อง “เพศ” อย่างไรดี

ให้ความสนใจเมื่อลูกถามคำถามเหล่านี้ โดยการบอกว่า “อืม ดีนะที่ลูกถามคำถามนี้” แทนที่จะบอกว่า “ทำไมหนูถามอย่างนั้น” หรือ “ไว้โตกว่านี้แล้วลูกจะรู้เอง” เพราะเป็นสิ่งดีที่ลูกรู้สึกสบายใจที่จะคุยกับคุณเรื่องนี้ ไม่ต้องรอให้ลูกเป็นฝ่ายตั้งคำถามก่อน พ่อแม่บางท่านอาจคิดว่าเมื่อลูกพร้อมจะเรียนรู้เรื่องเพศเขาก็จะตั้งคำถามเอง แต่สำหรับเด็กบางคน เขาอาจรู้สึกลำบากใจที่จะคุยเรื่องนี้ ซึ่งคุณไม่ต้องรอให้ลูกสงสัย แต่ค่อยๆ สอนไปทีละนิด จำไว้ว่า แม้ลูกจะไม่ถาม แต่เขาก็ควรได้รู้ค่ะ ไม่เป็นไรหากคุณจะไม่มีคำตอบให้ลูก หากคุณไม่รู้ ก็บอกว่าไม่รู้และจะไปหาคำตอบมาให้เขา หรือจะหาหนังสือมาอ่านเพื่อหาคำตอบไปพร้อมๆ กับลูกก็ได้ และหากคุณบอกข้อมูลอะไรที่ผิดพลาดไป ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพียงแต่กลับไปบอกลูกว่าคุณมีคำตอบที่ดีกว่ามาบอก ไม่เป็นไรเช่นกันถ้าคุณรู้สึกไม่สะดวกใจที่จะตอบคำถามลูก เพราะครอบครัวของคุณอาจไม่เคยพูดเรื่องนี้กับคุณเลย คุณสามารถบอกลูกได้ว่า “อืม แม่ไม่ค่อยรู้เรื่องผู้ชายผู้หญิงมากนักนะ เพราะยายไม่ค่อยเล่าอะไรให้แม่ฟัง แต่แม่ว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ แม่จะพยายามตอบเท่าที่รู้นะจ๊ะ” มองหาโอกาสเหมาะๆ ที่จะพูดคุยกับลูกเรื่องนี้ เช่น เมื่อเดินช็อปปิ้ง ขณะดูโทรทัศน์ หรือตอนอ่านหนังสือที่มีเรื่องของความสัมพันธ์ของชายและหญิง การสอนโดยใช้โอกาสเหล่านี้ทำให้ลูกได้เรียนรู้โดยไม่ต้องใช้วิธีการนั่งฟังเหมือนกำลังเรียนหนังสือ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ควรช่วยกันสอนลูก หลายๆ บ้านยกให้คุณแม่เท่านั้นเป็นฝ่ายตอบคำถามเรื่องเหล่านี้กับลูก แต่ที่จริงแล้วเด็กต้องการมุมมองจากทั้งคุณแม่และคุณพ่อ และทำให้ลูกเข้าใจว่าเรื่องเพศศึกษาเป็นสิ่งที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงพูดด้วยกันได้   บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

จัดพื้นที่ ให้ลูกตีลังกา ม้วนหน้า ม้วนหลัง

พอเกิดเสียงปึงปังที่แสนจะคุ้นหูคุณแม่เก๋ก็รู้ทันทีว่าน้องโก้วัย 5 ขวบผู้เป็นลูกชายกำลังฝึกกระบวนยุทธ์กายกรรมท่าใหม่อีกแล้ว

ปล่อยให้ลูกอนุบาลตัดสินใจ…แค่ไหนถึงพอดี

พ่อแม่ควรทำให้ลูกรู้สึกว่าเขามีอำนาจควบคุมโลกใบน้อยๆ ของตัวเอง โดยให้โอกาสเขาได้ตัดสินใจเองบ้าง แต่จะแน่ใจได้อย่างไรว่าจุดพอดีอยู่ตรงไหน หรือควรปล่อยแค่ไหน ลูกถึงจะไม่เสียเด็ก

5 สัญญาณเตือน “ลูกอาจมีปัญหาที่โรงเรียน”

ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน …เมื่อถึงวัยและเวลาที่ลูกต้องไปโรงเรียน บางบ้านอาจเกิดปัญหา ลูกน้อยไม่ยอมไปโรงเรียน หากสังเกตเห็นสัญญาณเตือนเหล่านี้ พ่อแม่ควรรีบคุย

keyboard_arrow_up