วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

4 ทางเลือกในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบไหนดีที่สุด?

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม
วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

สำหรับคุณแม่ที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ คงจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลครรภ์ และบำรุงสุขภาพกันไว้ล่วงหน้าอย่างมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่คุณแม่หลายท่านอาจไม่ได้ใส่ใจ คือวิธีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ในแบบต่างๆ ที่คุณแม่เกือบทุกท่านอาจจะต้อง เพื่อจะได้รู้ว่าลูกน้อยเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ และมีความผิดปกติอื่นใดหรือเปล่า แต่ว่าจะ ตรวจดาวน์ซินโดรม แบบไหนดี เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ

การตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ ไตรมาสแรก

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ทางการแพทย์จะมีวิธีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของทารกในครรภ์หรือตรวจโครโมโซมเพื่อดูความเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรมอยู่ 4 แบบคือ

ตรวจดาวน์ซิมโดรม แบบไหนดี

  • การตรวจชิ้นเนื้อรก หรือ CVS(Chorionic villous sampling)

เป็นวิธีการที่คนทั่วไปมักจะไม่ค่อยรู้จัก แต่เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ วิธีการทำคือใช้การนำท่อส่องกล้องเข้าไปในปากมดลูก และใช้เครื่องมือดึงหรือดูดนำตัวอย่างรกของลูกน้อยในครรภ์ออกมาตรวจที่ห้องปฏิบัติการ การตัดชิ้นเนื้อรกเพื่อนำมาตรวจนี้ให้ผลการตรวจที่แม่นยำมาก สามารถตรวจได้ทุกโครโมโซม  แต่คุณแม่จะเสี่ยงต่อการแท้งได้  จึงต้องทำโดยแพทย์ที่มีความชำนาญในการทำหัตถการนี้อย่างแท้จริง วิธีการนี้จึงมักทำในโรงเรียนแพทย์ที่มีเครื่องมือและบุคลากรที่พร้อม ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการนี้ จึงจะทำในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นเท่านั้น

  • การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก หรือ NT(Nuchal Translucency)

อัลตร้าซาวนด์วัดความหนาต้นคอ

วิธีการนี้คือการใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ตรวจวัดความหนาบริเวณต้นคอของลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งเมื่อตรวจแล้วพบว่าลูกน้อยมีความหนาของผนังคอมากกว่าปกติ จะมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะมีโครโมโซมผิดปกติ หรืออาจเป็นดาวน์ซินโดรมเพิ่มมากขึ้นด้วย วิธีการตรวจนี้ให้ผลที่ค่อนข้างแม่นยำ และไม่มีความเสี่ยงต่อการแท้งอีกด้วย

  • การทำ NT ร่วมกับ การตรวจสารในเลือดแม่ไตรมาสแรก(First Trimester BloodTest) หรือ ตรวจเลือด Double Marker (PAPP-A,Free ßHCG)

วิธีการนี้เป็นการตรวจร่วมกันทั้งการอัลตราซาวนด์วัดความหนาของต้นคอทารก (NT) ร่วมกับ การตรวจสารชีวเคมีและฮอร์โมนในเลือดคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก 2 ชนิด นั่นคือ Pregnancy-associated plasma protein A หรือ PAPP-A  กับ free beta subunit of human gonadotropin หรือ free ß –HCG

ซึ่งการตรวจคัดกรองวิธีนี้ถือว่าได้ผลที่แม่นยำมากยิ่งขึ้นถึงประมาณ 90%และไม่เสี่ยงแท้งอีกด้วย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ>> วิธีตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ แบบใหม่ล่าสุด คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up