เลือกหนังสือให้ลูก

เทคนิค เลือกหนังสือให้ลูก อย่างฉลาด เหมาะกับวัย

event
เลือกหนังสือให้ลูก
เลือกหนังสือให้ลูก

เลือกหนังสือให้ลูก

♣ 7-9 ขวบ : ชวนเลือกชวนอ่าน

หนังสือสำหรับเด็กวัยนี้อาจมีตัวหนังสือเยอะขึ้น  มีรูปภาพน้อยลง  แต่ควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย  และตัวหนังสือไม่แน่นจนเกินไป  อาจเป็นนิทานที่มีเนื้อเรื่องยาวขึ้น  เรื่องสั้น  นวนิยายขนาดสั้น  หรือหนังสือสารคดีตามความสนใจของเด็ก  เพื่อสร้างนิสัยใฝ่รู้  ให้เขาเรียนรู้ว่าหากเขาอยากรู้หรือสนใจเรื่องใด  ก็สามารถหาคำตอบได้จากหนังสือ  และเนื่องจากเด็กวัยนี้เริ่มมีความสนใจแตกต่างไปตามเพศของตนเอง  เด็กผู้ชายจึงชอบหนังสือนิทานแนวผจญภัย  ส่วนเด็กผู้หญิงอาจชอบนิทานเกี่ยวกับเพื่อน  โรงเรียน  หรือเทพนิยาย  คุณพ่อคุณแม่จึงควรเริ่มพาเขาไปร้านหนังสือและให้เลือกหนังสือตามความสนใจของตัวเอง  เด็กบางคนอาจเลือกได้ดี  เหมาะสมกับความสามารถในการอ่านของเขา  และตรงกับความสนใจของตนเอง

อ่าน 15 นาทีทุกวัน

ซึ่งการเลือกหนังสือได้ดีจะยิ่งส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  เพราะเด็กจะอ่านหนังสืออย่างสนุกสนานได้จนจบ  ทำให้เขาอยากอ่านหนังสือเล่มต่อๆ ไป  แต่เด็กบางคนที่ยังไม่รู้ชัดเจนว่าตนเองสนใจเรื่องใด  ก็อาจเลือกเพียงเพราะสนใจรูปบนหน้าปกหรือของเล่นที่มากับหนังสือเท่านั้น  คุณพ่อคุณแม่จึงมีหน้าที่ให้คำแนะนำ  และช่วยวางแผนให้เขาอ่านหนังสือเล่มที่เลือกให้ได้จนจบ  อาจแบ่งอ่านวันละ 1 ตอน  หรือวันละไม่กี่หน้าอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้เขาไม่รู้สึกท้อและเลิกอ่านหนังสือไปกลางคัน

Must read : การอ่านที่แท้จริงคืออะไร

เลือกหนังสือให้ลูก

⊕ 9-12 ขวบ : อิสระเลือก อิสระอ่าน

เด็กวัยนี้จะรู้สิ่งที่ตัวเองสนใจอย่างชัดเจน  เมื่อพาลูกไปร้านหนังสือจึงควรมีข้อตกลงกับเขาว่า  คุณพ่อคุณแม่จะให้เขาเลือกหนังสือเล่มที่ชอบที่สุดได้กี่เล่ม  และอาจให้คำแนะนำวิธีการเลือกหนังสือ  เช่น  ควรลองอ่านก่อนสัก 1 บทเพื่อดูว่าถูกใจจริงๆ ไหม  หรือหากเป็นหนังสือห่อพลาสติกที่ไม่สามารถเปิดอ่านได้ก็ควรอ่านจากปกหน้าและปกหลังก่อน  และสอนให้ลูกหยิบจับหนังสืออย่างทะนุถนอม  แม้เราจะเลือกซื้อหรือไม่ก็ตาม  แล้วให้เวลาเขาค่อยๆ ดู ค่อยๆ เลือกด้วยตัวเองอย่างเต็มที่  เขาจะได้ไตร่ตรองความสนใจของตัวเอง  และเลือกหนังสือที่ใช่ได้ตรงใจที่สุด

สุดท้ายนี้อาจารย์สุธาวัลย์ฝากไว้ว่า  “นิสัยรักการอ่านจะเกิดขึ้นได้  ต่อเมื่อเขารู้สึกสนุกกับการอ่านหนังสือ  ดังนั้นจึงควรเลือกหนังสือของลูกให้เหมาะกับวัยและตรงกับความสนใจของเขา  นอกจากนี้การเล่านิทานและชวนลูกพูดคุยหรือตั้งคำถามยังต้องใส่ลีลาหรือความตื่นเต้นเข้าไปบ้าง  เพื่อให้ลูกตื่นเต้นหรือลุ้นไปตามเรื่องราว  เพราะหากคุณพ่อคุณแม่เร่งแต่จะให้เขาอ่านออกเขียนได้  แล้วเด็กเกิดความเบื่อหน่าย  ไม่สนุกสนาน  เขาก็จะไม่ได้อะไรจากหนังสือเล่มนั้น  แถมยังมีทัศนคติไม่ดีกับการอ่านติดตัวไปจนโต  แตกต่างจากเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ให้อิสระในการเล่น  เล่านิทานสนุกๆ ให้ลูกฟัง  ชวนพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน  เด็กจะได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายและจดจำได้เอง  เมื่อถึงวัยที่ต้องเรียนอ่านเขียน  แม้จะเริ่มช้ากว่าเด็กคนอื่นแต่ใช้เวลาไม่นานก็ตามทันเพื่อน  ไม่ได้มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าแต่อย่างใดเลยค่ะ”

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


เรื่อง : ดร.สุธาวัลย์ หาญขจรสุข สถาบันวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ (ศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็ก) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up