ตู้ยาสามัญประจำบ้านสำหรับลูกน้อยต้องมีอะไรบ้าง?

Alternative Textaccount_circle
event

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ เวลาที่ลูกเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่สบาย คนเป็นพ่อเป็นแม่แทบอยากจะป่วยแทนลูก ยิ่งเป็นลูกคนแรกด้วยแล้ว คุณพ่อคุณแม่บางคนถึงกับทำอะไรไม่ถูก ซึ่งหากรู้ว่าลูกเริ่มมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบายตัว หากพ่อแม่ได้เลี้ยงลูกเองจะเป็นผู้สังเกตอาการได้ดีที่สุด และอาจให้ยาเพื่อรักษาอาการเบื้องต้นของลูกได้ ก่อนที่จำเป็นจะต้องไปพบแพทย์

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรที่จะหายาพื้นฐานสำหรับโรคที่ไม่ร้ายแรงติดตู้ยาไว้ให้ลูก ก็จะทำให้อุ่นใจได้ยามที่ลูกน้อยเจ็บป่วย…การให้ยากับลูกเองนั้น มีข้อควรระมัดระวังอยู่หลายอย่าง ได้แก่ เรื่องการแพ้ยาคุณพ่อคุณแม่ต้องทราบว่าลูกเราแพ้ยาตัวไหนบ้าง หรือตัวคุณพ่อคุณแม่เองมีประวัติแพ้ยาตัวใด ก็ต้องระมัดระวังการให้ยากลุ่มนั้นกับลูกน้อยเป็นพิเศษ เพราะอาจมีโอกาสแพ้ได้เหมือนกับพ่อแม่ อีกอย่างคือโรคประจำตัวของลูก ซึ่งโรคประจำตัวบางโรค เช่น G6PD ต้องหลีกเลี่ยงยาบางกลุ่มที่จะกระตุ้นให้แสดงอาการของโรค เป็นต้น

ซึ่งในท้องตลาดทุกวันนี้ มียาบรรจุเป็นซองบ้าง ขวดบ้าง ให้คุณพ่อคุณแม่ได้เลือกซื้อกันหลายร้อยยี่ห้อ ซึ่งส่วนใหญ่ก็โฆษณาสรรพคุณใช้เป็นยาให้เด็กกินแก้อาการปวดหัวตัวร้อน เป็นหวัด ไอ ปวดท้อง ท้องเสีย และไข้ต่างๆ ที่พบกันเป็นประจำในครอบครัว ยาเหล่านี้ ถ้าเรารู้จักวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็จะได้ประโยชน์มากทีเดียว แต่ถ้าไม่รู้จักสรรพคุณอย่างแท้จริง มิหนำซ้ำยังไม่รู้ว่ามีโทษอะไร หลงซื้อให้เด็กกิน ก็อาจเป็นโทษถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะยาที่โฆษณาว่าแก้ได้สารพัดโรค ซึ่งลงท้ายด้วย “มัยซิน” บ้าง “แรมติน” บ้าง “อูลิน” บ้าง หรือ “คลอริน” บ้าง มักจะเข้ายาประเภทคลอแรมเฟนิคอล และเตตร้าซัยคลีน ซึ่งเป็นยาที่ต้องระมัดระวังในการที่จะให้เด็กกินเป็นอย่างมาก

ดังนั้น ถ้าหากพ่อแม่จำเป็นจะต้องซื้อยาให้ลูกกิน ก็ควรจะไต่ถามให้รู้ถึงคุณและโทษ ตลอดจนวิธีการใช้ให้ถูกต้องเสียก่อนเป็นดีที่สุด Amarin Baby & Kids จึงขอแนะนำยาที่สามารถซื้อใช้เองได้ สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่จำเป็นต้องเป็นหมอของลูกหลาน

ยาสำหรับเด็กที่ควรมีไว้ประจำบ้าน

1. เมื่อเด็กมีไข้ ตัวร้อนหรือปวดหัวควรใช้ยาแอสไพริน หรือ พาราเซตามอลสำหรับเด็ก ขณะให้ยาลดไข้ ควรให้ดื่มน้ำตามมากๆ ด้วย น้ำนอกจากจะช่วยให้ยากระจายตัวได้ดี ละลายและออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น ลดความเป็นกรดของแอสไพริน จะได้ไม่ระคายเคืองกระเพาะแล้ว น้ำยังช่วยให้มีการระบายความร้อน ทำให้ไข้ลดเร็วยิ่งขึ้นด้วย ยิ่งถ้าเด็กตัวร้อนจัด ต้องใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดให้ทั่วตัว เช็ดมากๆ ตามคอ รักแร้ และข้อพับต่างๆ และอย่าไปห่มผ้า หรือสวมเสื้อหนาๆ จนกว่าไข้จะลดลงแล้ว ถ้าเด็กหนาวด้วย ให้เริ่มใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเล็กน้อยเช็ดก่อนแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นน้ำเย็น เช็ดจนไข้ลด จึงห่มผ้าให้

ขนาดที่ใช้

  • แอสไพริน

ใช้ชนิดสำหรับเด็ก (เบบี้แอสไพริน) ราคาร้อยละ 4-5 บาท

เราสามารถกำหนดขนาดที่จะให้แอสไพรินเด็ก โดยประมาณได้ง่ายๆ คือ ให้แต่ละครั้งเป็นจำนวนเม็ด เท่ากับจำนวนอายุของเด็ก เช่น

เด็ก 1 ขวบ ให้ครั้งละ 1 เม็ด

เด็ก 2 ขวบ ” 2 เม็ด

เด็ก 3 ขวบ ” 3 เม็ด

เด็ก 4 ขวบ ” 4 เม็ด

เด็ก 5-10 ขวบ ครั้งละ 5 เม็ด ก็พอ

โดยให้กินซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง ควรให้หลังอาหารทันที และอย่าลืมให้ดื่มน้ำตามมากๆ โดยเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องให้เวลาท้องว่าง

***นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังอีกอย่าง คือ ห้ามให้ยาลดไข้ แอสไพริน ในเด็กที่สงสัยว่าจะป่วยเป็นไข้เลือดออก (เด็กมีอาการตัวร้อนจัดตลอดเวลา และไม่มีน้ำมูกให้เห็น) เพราะจะทำให้เกิดอาการเลือดออกได้ง่ายขึ้น ให้ใช้พาราเซตามอลน้ำเชื่อมแทน

  • พาราเซตามอลน้ำเชื่อม

ใช้ขนาด 120 ถึง 125 มิลลิกรัม ต่อ 1 ช้อนชา (5 ซี.ซี.) ราคาออนซ์ละ 3-5 บาท โดยให้ประมาณตามอายุ ดังนี้

เด็กแรกเกิด ถึง 3 เดือน ให้ครั้งละ 1/4 ช้อนชา (ครึ่งของครึ่งช้อนชา)

เด็ก 3-6 เดือน ให้ครั้งละ 1/2 ช้อนชา (ครึ่งช้อนชา)

เด็ก 2-5 ขวบ ให้ครั้งละ 1 ½ ช้อนชา

เด็ก 5-8 ขวบ ให้ครั้งละ 2 ช้อนชา

เด็ก 8-14 ขวบ ให้ครั้งละ 3 ช้อนชา

ทั้งหมดนี้ให้วันละ 3-4 ครั้ง ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง

2. ถ้าเด็กมีอาการไข้ และมีอาการหวัดคือ คัดจมูก น้ำมูกไหลด้วย ให้ใช้ยา พาราเซตามอล คอมปาวนด์น้ำเชื่อม ขององค์การเภสัชกรรม ขวดละ 7-8 บาท (2 ออนซ์) แทนพาราเซตามอลธรรมดาโดยให้ขนาดเท่ากัน

3. ถ้าเด็กมีอาการไอควรใช้ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ขององค์การเภสัชกรรม โดยให้ขนาด ดังนี้

เด็กแรกเกิด ถึง 2 ขวบ ให้ครั้งละ 1/ 4 ช้อนชา

เด็กแรกเกิด 2-6 ขวบ ให้ครั้งละ 1/2 ข้อนชา

เด็ก 6-12 ขวบ ให้ครั้งละ 1 ช้อนชา

ทั้งหมดนี้ให้วันละ 4-6 ครั้ง ห่างกัน 3-4 ชั่วโมง

อ่านต่อ >> ยาสำหรับเด็กที่ควรมีไว้ประจำบ้าน” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up