ลูกท้องผูก ถ่ายยาก ทำไงดี?

event

ลูกท้องผูก เป็นอาการ ไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการที่เด็กไม่ถ่ายอุจจาระตามปกติ โดยคำนิยามทางการแพทย์ ท้องผูก หมายถึงความผิดปกติทั้งจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ ซึ่งต้องน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ลักษณะของอุจจาระต้องแห้ง แข็ง การขับถ่ายต้องใช้แรงเบ่งหรือใช้มือช่วยล้วง และภายหลังอุจจาระแล้วยังมีความรู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด

สำหรับบ้านไหนที่มีเด็กทารกอายุแรกเกิด – 3 เดือน มักมีปัญหามาปรึกษาอยู่เสมอว่าทำไม ลูกท้องผูก จะป้องกันและแก้ไขอย่างไร หรือใช้สบู่สวนทวารหนักลูกบ่อย ๆ ดีหรือไม่อย่างไร

อาการท้องผูก ที่จริงแล้วความหมายของคำว่า ท้องผูก คือ การถ่ายอุจจาระแข็งกว่าปกติมาก ซึ่งอาจจะหลาย ๆ วันถ่ายครั้ง หรือถ่ายอุจจาระทุกวัน แต่อุจจาระแข็งมาก ก็ถือว่าเป็นอาการท้องผูก นิยามของ ท้องผูก จากคุณหมอ หมายถึง ถ่ายแข็ง ไม่นิ่มยาวสวยเหมือนกล้วยหอมหรือออกมาง่ายๆเหมือนยาสีฟันบีบออกจากหลอด ถึงแม้จะถ่ายทุกวันแต่ออกมาแล้วแข็งก็ถือว่าท้องผูกค่ะ ตรงกันข้ามกับเด็กทารกที่ดูดนมแม่บางครั้งหลายวันถ่าย แต่ออกมามีลักษณะนิ่ม จะไม่ถือว่าเป็นท้องผูกค่ะ

ลักษณะอาการ ลูกท้องผูก

ลูกท้องผูก

ซึ่งทารกแรกเกิดไปจนถึงอายุ 2 – 3 เดือนที่ดูดนมแม่มักจะไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกเกิดใหม่ 2 – 3 วันแรกเด็กทารกที่ดูดนมแม่จะขับถ่ายขี้เทาได้ดี และอาจถ่ายอุจจาระเป็นสีเหลืองเหลว ๆ ได้ในปริมาณครั้งละเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงวันละ 6 – 8 ครั้ง เนื่องจากว่าน้ำนมแม่มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับขี้เทาได้ดี เด็กบางคนที่ดูดนมแม่อาจจะถ่ายอุจจาระเพียง 1 ครั้งในเวลา 3 – 4 วัน โดยมีลักษณะอุจจาระนิ่ม ๆ ไม่แข็งและปริมาณไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจากว่าน้ำนมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน มีกากอาหารน้อยลำไส้เด็กสามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารจากนมแม่ไปใช้ได้หมด ทำให้มีจำนวนอุจจาระน้อย ไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน *จากรูปประกอบด้านบน ท้องผูก คือ รูปที่ 1-3 ท้องเสีย คือ รูปที่ 5-7

 

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เด็กที่ดูดนมแม่ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูกเลย ส่วนเด็กที่ดูดนมผสม จากสูตรนมผงต่าง ๆ กันนั้นอาจจะมีปัญหาท้องผูกได้จากส่วนประกอบของนมผงแต่ละชนิดซึ่งไม่เหมือนกัน เด็กที่ท้องผูกอาจเกิดจากได้รับนมที่มีไขมัน หรือโปรตีนสูงเกินไปได้รับนมหรือน้ำน้อยไปทำให้ระบบขับถ่ายไม่สมดุลเกิดการท้องผูกขึ้น

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ลูกท้องผูก

สาเหตุอื่นๆ ของอาการ ลูกท้องผูกอาจเกิดจาก

  • กินอาหารที่มีเส้นใยอาหารไม่เพียงพอ เช่นผัก ผลไม้ แก้ไขโดย การพยายามให้กินเพิ่มขึ้น ผลไม้ที่ช่วยระบายได้แก่ ธัญพืช ข้าวไม่ขัดสี ส้มมะละกอ ลูกพรุน แก้วมังกรองุ่น เชอร์รี่ ไม่แนะนำให้กินโยเกิร์ต เนื่องจากโปรตีนนมวัวอาจทำให้เป็นโรคภูมิแพ้
  • กินน้ำน้อย แก้ไขโดย การพยายามให้กินน้ำเพิ่มขึ้น เด็กบางคนชอบกินน้ำเย็น น้ำแข็ง ก็อนุโลมได้ค่ะ แต่ควรเป็นน้ำแข็งทำเองจะได้ไม่เสี่ยงกับภาวะท้องเสีย แต่ไม่ควรให้กินน้ำหวานหรือน้ำผึ้ง เพราะจะทำให้ติดรสหวาน ฟันผุ เป็นโรคอ้วน
  • ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวเท่าที่ควร เช่น คนอุ้มเยอะ นั่งดูทีวีทั้งวัน วิธีแก้คือ พยายามกระตุ้นให้ลูกได้ออกกำลังกาย
  • ห่วงเล่น ไม่อยากขับถ่ายในที่ไม่คุ้นเคย กลัวห้องน้ำสกปรกจึงอั้นไว้ก่อน พอเก็บไว้นานก็ทำให้อุจจาระแข็งวิธีแก้คือ ฝึกให้ลูกถ่ายเป็นเวลาทุกวันเช่น ตอนเช้า หรือตอนเย็นเวลาออกนอกบ้านจะได้ไม่ต้องอั้น
  • ต่อต้านการขับถ่าย เนื่องจากเคยมีประสบการณ์ถ่ายแข็งจนบาดรูทวาร เป็นแผลเจ็บมาก แก้ไขโดยทายารักษาแผลจนหายดี ทำให้อุจจาระนิ่มโดยใช้ยาช่วยระบาย จนกว่าลูกจะมั่นใจว่าอุจจาระที่ออกมาไม่ทำให้เจ็บ จึงหยุดยาระบายได้ และพยายามอย่าให้มีปัญหาอุจจาระแข็งอีก
  • เคยถูกบังคับให้ฝึกนั่งกระโถน ทำให้มีความฝังใจไม่อยากขับถ่าย วิธีแก้คือ ปล่อยให้ลูกอุจจาระในรูปแบบที่ลูกชอบไปก่อน ขณะเดียวกัน พยายามแสดงให้ลูกดูว่าทุกคนเขาทำกันอย่างไร บางคนก็ไม่ยอมทำ จนกว่าจะเข้าโรงเรียนแล้วไปเห็นเพื่อนๆทำได้ หรือเห็นที่นั่งขับถ่ายที่โรงเรียนมีขนาดเล็กเหมาะสมกับตัวเอง จึงยอมทำได้ในที่สุด
  • ไม่ถูกกับอาหารหรือนมที่กินอยู่ เช่น แพ้โปรตีนนมวัว หรือเป็นผลข้างเคียงของธาตุเหล็กที่ผสมอยู่ในนมผง วิธีแก้คือ เปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลืองหรือนมสำหรับเด็กแพ้นมวัว หากเป็นเด็กที่อายุเกิน 1 ขวบไม่จำเป็นต้องกินนมผงอีกต่อไป ให้เปลี่ยนมาเป็นนมกล่องที่ไม่ได้เสริมธาตุเหล็ก
  • โรคบางอย่าง เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ โรคเบาจืด เด็กต้องมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย วิธีแก้คือ รักษาโรคที่เป็นอยู่
  • ยาบางอย่าง เช่น ธาตุเหล็ก ยาลดไข้สูง ยาลดกรด ยากดการไอที่มีโคเดอีน วิธีแก้คือ ลองหยุดยาแล้วดูว่าดีขึ้นหรือไม่
  • เป็นโรคขาดเนื้อเยื่อประสาทที่ควบคุมการทำงานของลำไส้ (Congenital Megacolon หรือ Hirschsprung’sDisease) วินิจฉัยโรคได้จากการสวนแป้งทางทวารและการผ่าตัดชิ้นเนื้อที่ลำไส้ไปตรวจ วิธีแก้คือ หากเป็นไม่มาก แก้ไขโดยการใช้ยาช่วยระบาย ถ้าเป็นมากแก้ไขโดยการผ่าตัด

อ่านต่อ >> “วิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกท้องผูก” คลิกหน้า 2 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up